เบื้องหลังสุดเศร้าของ ทอม ธอร์ป อดีตกองหลังดาวรุ่งผู้ถูกลืมของ แมนยู - FEATURE

  • ทอม ธอร์ป เคยเป็นนักเตะ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
  • แข้งรายนี้โดนปล่อยตัวหลังหมดสัญญา
  • เจ้าตัวเจอวิกฤตโรคซึมเศร้าเล่นงานอย่างหนัก
Manchester United v Chelsea - FA Youth Cup Semi Final 2nd Leg
Manchester United v Chelsea - FA Youth Cup Semi Final 2nd Leg / Michael Regan/GettyImages
facebooktwitterreddit

ทอม ธอร์ป อดีตกองหลังดาวรุ่ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ต้องประสบกับความยากลำบากที่สุดในอาชีพนักฟุตบอล หลังจากต้องหยุดเล่นไปนานถึง 5 ปี เต็ม จากเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง

ธอร์ป ปัจจุบันอายุ 30 ปี เคยเป็นกัปตันทีม แมนฯ ยูไนเต็ด ชุดคว้าแชมป์ เอฟเอ ยูธ คัพ ปี 2011 และอยู่ในทีมเดียวกับ ปอล ป็อกบา, เจสซี่ ลินการ์ด และ ราเวล มอร์ริสัน ก่อนจะโดนปล่อยออกจาก โอลด์ แทรฟฟอร์ด ในปี 2015 หลังหมดสัญญา และเจ้าตัวก็โยกไปเล่นกับ เอทีเค สโมสรในอินเดียน ซูเปอร์ลีก

Milan Lalkovic, Tom Thorpe
Manchester United v Chelsea - FA Youth Cup Semi Final 2nd Leg / Michael Regan/GettyImages

ธอร์ป กลับมาที่อังกฤษอีกครั้งเพื่อเข้ารับการรักษโรคภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง  และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าตัวเป็นหนึ่งในอดีตนักเตะ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่เดินทางมายังสนามฝึกซ้อม แคร์ริงตัน เพื่อทำการเวิร์คช็อปร่วมกับผู้เล่นรุ่นน้องบางส่วนที่อาจไม่ได้รับการต่อสัญญาฉบับใหม่ พร้อมกับเสนอแนวคิดสำหรับเส้นทางอาชีพที่เป็นไปได้หลังเลิกเล่นฟุตบอล

หลังจากอำลาสนามไปนาน ธอร์ป กลับมาค้าแข้งอีกครั้งในฤดูกาลนี้กับทีมนอกลีกอย่าง สตาลีบริดจ์ เซลติก แต่เจ้าตัวไม่สามารถลงสนามช่วยทีมได้หลังจากได้รับบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้า (ACL) ฉีกขาดจากเกมนัดประเดิมสนาม

ธอร์ป เดินทางมาพร้อมกับ คัลลัม กริบบิน ปีกวัย 24 ปี อดีตนักเตะ แมนฯ ยูไนเต็ด เจ้าของฉายา “ไรอัน กิ๊กส์ คนใหม่” ซึ่งปัจจุบันเล่นให้กับ เอฟซี ยูไนเต็ด ทีมนอกลีก และก็ได้รับบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้าฉีกขาดเช่นกัน

อดีตดาวรุ่ง แมนฯ ยูไนเต็ด เริ่มกล่าวว่า “มันเป็นเรื่องดีที่ได้พูดคุยกับผู้คนที่มีประสบการณ์คล้ายกันและสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ในเวลาที่คุณสามารถทำได้

นิค ค็อกซ์ หัวหน้าอคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด เปิดเผยว่า สโมสรได้ปล่อยตัวผู้เล่นออกไปประมาณ 225 คน ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา โดยผู้เล่นแต่ละคนมีการเลือกเดินทางของตัวเอง อาทิ การย้ายไปยังสโมสรเล็กๆ แต่น้อยคนนักที่จะมีเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจเท่า ธอร์ป

ธอร์ป กล่าวต่อว่า “ภาวะซึมเศร้ามีสิ่งที่ตรงกันข้ามมากมาย มันยากที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดโดยที่ไม่มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง คุณไม่อยากเหงา แต่อยากอยู่คนเดียว เมื่อคุณได้ยินวลีที่ว่า คุณสามารถมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์”

“การตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์คือ ถ้าคุณเห็นแสงสว่าง คุณก็เดินต่อไป แต่ด้วยความหดหู่ใจ มันก็ไม่มีแสงสว่าง ไม่มีอะไรเลย เป็นกรณีของความสมบูรณ์ที่ปิดตัวลง นอกจากพ่อ แม่ และแฟนสาวของผมแล้ว ไม่มีใครรู้”

“ผมจะไปงานครอบครัว และสวมหน้ากากนี้ แต่ทันทีที่ผมกลับถึงบ้าน มันก็จะเป็นเรื่องของการถอดหน้ากากแล้วปิดตัวลง ผมไม่อยากพูดกับใค รหรือทำอะไรเลย”

Tom Thorpe
Manchester United v Sheffield United - FA Youth Cup Final 2nd Leg / Laurence Griffiths/GettyImages

อดีตเซ็นเตอร์แบ็คชุดเยาวชนของ แมนฯ ยูไนเต็ด ทำงานร่วมกับองค์กรการกุศล Sporting Chance เพื่อต่อสู้กับปัญหาของตนเอง และได้ทำภารกิจในการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่ง ธอร์ป ยอมรับว่า กิจกรรมแบบนี้มีประโยชน์อย่างมาก

ดาวเตะวัย 30 ปี กล่าวว่า “เป็นเรื่องดีที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนที่ติดต่อคุณ จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมรู้ว่าเมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า ช่วงเวลานั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะไปขอความช่วยเหลือจากใครสักคนมันยากเมื่อคุณคิดถึงจำนวนนักเตะที่ผ่านจากอคาเดมี่

“แต่ถ้ามีวิธีติดต่อกับคนที่จากไปแล้ว หรือผู้ที่บางทีกำลังดิ้นรนเพื่อหาสโมสรเพื่อถามว่า พวกเขาอยู่ต่อไปได้อย่างไร มันเป็นเรื่องใหญ่มาก”

ขณะที่ ค็อกซ์ ยืนกรานว่า แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ยัดเยียดความฝันของการเป็นสตาร์ระดับโลกให้กับนักเตะดาวรุ่ง แต่เลือกที่จะส่งข้อความถึงผู้เล่นเหล่านั้น และครอบครัว รวมถึงผู้ใกล้ชิด พร้อมกับบอกข้อเท็จจริงที่ว่า มีนักเตะเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้เล่นใน พรีเมียร์ลีก แลยอมรับว่า ความผิดหวังที่ไม่ได้รับการต่อสัญญา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เส้นทางของ ธอร์ป คงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักเตะดาวรุ่งหลายๆคนในยุคนี้ว่า บางทีพวกเขาอาจ
เดินไปไม่ถึงฝั่งฝัน และต้องหาวิธีการรับมือกับความผิดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้