4 ประเด็นที่บอร์ดบริหาร แมนยู ต้องำทการบ้านในช่วงพักเบรกทีมชาติ - OPINION
- เอริค เทน ฮาก กำลังพา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทำผลงานย่ำแย่
- โค้ชรายนี้อนาคตเริ่มสั่นคลอนหลังต่อสัญญาใหม่ออกไปเพียงไม่กี่เดือน
- บอร์ดบริหาร “ปีศาจแดง” มี 4 ประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน
โดย Navapun Munarsa
เอริค เทน ฮาก ผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้ซื้อเวลาที่จะอยู่ในตำแหน่งไปอีกสักระยะหลังจากล่าสุดพา “ปีศาจแดง” บุกไปเสมอกับ แอสตัน วิลลา 0-0 เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ในเกมที่ วิลล่า พาร์ค นั้น เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ เจ้าของร่วม แมนฯ ยูไนเต็ด และทีมผู้บริหารอย่าง เซอร์ เดฟ เบรลส์ฟอร์ด, แดน แอชเวิร์ธ, โอมาร์ เบอร์ราดา และ เจสัน วิลค็อกซ์ รวมถึงอดีตกุนซืออย่าง เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็เข้าไปชมเกมด้วย
แม้จะได้ผลเสมอกลับออกมา แต่ภาพรวมตั้งแต่ออกสตาร์ทซีซัน 2024-2025 เทน ฮาก ทำผลงานย่ำแย่อย่างหนัก และอนาคตก็ยังคลุมเครือ โดย 5 ประเด็นต่อไปนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่บอร์ดบริหาร “ปีศาจแดง” ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากหวังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
1. เกมรับดีขึ้นหรือไม่
จอนนี อีแวนส์ และ แฮร์รี่ แม็กไกวร์ ลงเล่นเป็นตัวจริงในเกมกับ วิลลา แบบสุดเซอร์ไพรส์ ขณะที่ มัทไธจ์ส เดอ ลิกต์ และ ลิซานโดร มาร์ติเนซ ต้องกลายเป็นตัวสำรองในรอบหลายเกม ซึ่งการตัดสินใจของ เทน ฮาก สร้างความแปลกใจให้กับทุกคน
นับตั้งแต่ เทน ฮาก ได้รับการแต่งตั้งเมื่อซัมเมอร์ปี 2022 ไม่มีทีมใน พรีเมียร์ลีก ทีมใดเสีย 3 ประตูต่อเกมขึ้นไปในทุกรายการมากกว่าที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ทำ โดยจำนวนรวมทั้งหมดที่ 24 ครั้ง และใน 62 เกมนับตั้งแต่เริ่มฤดูกาลที่แล้ว พวกเขาเสียมากกว่า 2 ประตูต่อเกม ถึง 31 นัด มากที่สุดในบรรดาทีม พรีเมียร์ลีก
ปัจจุบัน เทน ฮาก ยังไม่มีคู่กองหลังตัวกลางที่ยืนเป็นหลัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุดเพื่อความมั่นคงในแนวรับ
2. ปัญหาเกมรุก
หากสถิติแนวรับของ แมนฯ ยูไนเต็ด สร้างผลกระทบทำให้พวกเขาหล่นไปอยู่อันดับ 14 ในตารางคะแนน พรีเมียร์ลีก แต่ในทางตรงกันข้าม เกมรุกก็ดูสิ้นหวังเช่นกัน โดย “ปีศาจแดง” ยิงได้เพียง 5 ประตู จาก 7 เกมแรกในลีก และมีเพียง เซาแธมป์ตัน ที่ต้องดิ้นรนเท่านั้นที่ยิงได้น้อยกว่าในจำนวน 4 ประตู
เมื่อมองไปที่บรรดากองหน้าแต่ละคนของ แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ทำผลงานในซีซีนนี้ฝืดสุดๆ มาร์คัส แรชฟอร์ด ยิงไป 4 ประตู จาก 11 เกม ราสมุส ฮอยจ์ลันด์ ยิงไป 1 ประตู จาก 5 เกม และ โจชัว เซิร์กซี ที่เพิ่งย้ายมาใหม่ก็ยิงได้ 1 ประตู จาก 10 เกม
แน่นอนว่า นี่เป็นสถิติที่แย่ที่สุดของ แมนฯ ยูไนเต็ด นับตั้งแต่ฤดูกาล 1972-73 ที่พวกเขาทำได้เพียง 4 ประตูจาก 7 เกมแรกในลีก
3. ฟอร์มการเล่นในภาพรวมย่ำแย่
แมนฯ ยูไนเต็ด และ เทน ฮาก อาจพอใจกับผลเสมอที่ วิลล่า พาร์ค หลังจากทีมของ อูไน เอเมรี่ โค้ชชาวสเปน เพิ่งโชว์ฟอร์มแกร่งเปิดบ้านเชือด บาเยิร์น มิวนิค 1-0 ในเกม ยูฟา แชมเปี้ยนส์ ลีก เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ในภาพรวมมันน่าผิดหวังสุดๆ
ขณะเดียวกัน เทน ฮาก ยังทำให้ แมนฯ ยูไนเต็ด ออกสตาร์ทแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1989-90 และการได้เห็นผู้เล่นในซุ้มม้านั่งสำรองที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 300 ล้านปอนด์ อย่าง อันโตนี, คาเซมิโร, มาร์ติเนซ, เดอ ลิกต์, เซิร์กซี และ มานูเอล อูการ์เต มันเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดอย่างหนัก
ตอนนี้ แมนฯ ยูไนเต็ด ไร้ชัยชนะมา 5 เกมรวมทุกรายการแล้ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ โดยรายการโปรแกรมหลังพักเบรกทีมชาติเริ่มต้นด้วยเกมเหย้ากับ เบรนท์ฟอร์ด เยือน เฟเนร์บาห์เช่ ของ โชเซ่ มูรินโญ่ ใน ยูโรป้า ลีก, เยือน เวสต์แฮม ยูไนเต็ด เยือน และเล่นในบ้านกับ เลสเตอร์ ซิตี้ ซึ่งเรียกได้ว่า หนักสุดๆ
4. การพักเบรคทีมชาติเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
ช่วงพักเบรคทีมชาติมักเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม แต่ เทน ฮาก คงหวังว่าผลเสมอ 2 นัดกับ เอฟซี ปอร์โต และ วิลลา จะช่วยยื้อเวลาออกไป ซึ่งบางทีหากเกมล่าสุดจบลงด้วยคววามปราชัย เขาอาจโดนไล่ออกแล้วก็ได้
ช่วงเบรกฤดูกาลนี้เปิดโอกาสให้บอร์ดบริหาร แมนฯ ยูไนเต็ด และ เทน ฮาก มีเวลาพูดคุยกัน และหาทางแก้ปไขปัญหา โดยก่อนเกมกับ วิลล่า แรทคลิฟฟ์ ยืนยันว่า อนาคตของอดีตกุนซือ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตนเองเพียงคนเดียว
ขณะเดียวกัน ยังตัวเลือกที่น่าสนใจให้บอร์ดบริหาร แมนฯ ยูไนเต็ด พิจารณา อาทิ แกเร็ธ เซาธ์เกต, เกรแฮม พ็อตเตอร์, โธมัส ทูเคิ่ล, รุด ฟาน นิสเตลรอย, ซิโมเน่ อินซากี และ คีแรน แม็คเคนนา ซึ่งต้องรอดูว่า เทน ฮาก จะยังอยู่รอดหรือไม่